ประเทศไทย เป็นอีกประเทศหนึ่งในโลกที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ดังนั้น
จึงมีระเบียบแบบแผนที่เป็นธรรมเนียมในการเข้าเฝ้าต่างๆไม่ว่าจะเป็น คำกราบ
บังคมทูล การแสดงความเคารพ การนั่งการยืน และการแต่งกาย ฯลฯ
ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเรียบร้อย งดงาม
เพราะถือเป็นวัฒนธรรมของชาติอย่างหนึ่ง
โดยเฉพาะเรื่องการแต่งกายเข้าเฝ้าฯที่ประชาชน เยาวชน
หรือแม้แต่ข้าราชการรุ่นใหม่หลายคนก็อาจจะยังไม่ทราบว่าแต่ละโอกาสจะต้อง
แต่งกันอย่างไร บางคนก็อาจสงสัยว่าชุดที่คล้ายเครื่องแบบปกติขาว
ที่มีเอกชนสวมใส่อยู่ในบางงานจะใช่ชุดข้าราชการหรือไม่
คนทั่วไปจะแต่งได้อย่างไร ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมจะได้บอกกล่าวกันต่อไป
ก่อนอื่นควรทราบความหมายของคำว่า พระราชพิธี รัฐพิธี และพิธี เสียก่อน
พระราชพิธี หมายถึง
งานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
กำหนดไว้เป็นประจำตามราชประเพณี ซึ่งจะเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธี
โดยก่อนวันพระราชพิธีจะมีหมายกำหนดการ
(เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีโดยเฉพาะ)ในการเสด็จฯไปทรง
ประกอบพระราชกรณียกิจ ซึ่งโดยปกติแล้วคณะรัฐมนตรี
และผู้มีตำแหน่งตามที่กำหนดให้เฝ้าฯต้องมีหน้าที่ไปเข้าเฝ้าฯในพระราชพิธี
ด้วย ยกเว้นเป็นพระราชพิธีส่วนพระองค์หรือเป็นการภายใน
พระราชพิธีที่บุคคลสำคัญหรือมีตำแหน่งต้องไปเข้าเฝ้าฯ ได้แก่ วันฉัตรมงคล
วันเฉลิมพระชนมพรรษา การบำเพ็ญกุศลถวายผ้าพระกฐิน เป็นต้น
รัฐพิธี หมายถึง
งานที่รัฐบาลกราบบังคมทูลขอพระมหากรุณาให้ทรงรับไว้เป็นงานรัฐพิธี
มีหมายกำหนดการที่กำหนดไว้เป็นประจำ
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯไปทรงเป็นประธานในพิธีหรืออาจจะทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีผู้แทนพระองค์ไปแทนก็ได้
พูดง่ายๆคือถ้าเป็นพระราชพิธี
จะเป็นงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดเอง ส่วนรัฐพิธี
รัฐบาลจะเป็นฝ่ายกำหนด แล้วขอพระราชทานอัญเชิญเสด็จฯ
ซึ่งรัฐพิธีในปัจจุบันที่คณะรัฐมนตรีและบุคคลสำคัญต้องไปเฝ้าฯ ได้แก่
วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (วันกองทัพไทย)
วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรม
ราชวงศ์ วันปิยมหาราช และวันรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
พิธี หมายถึง งานทั่วๆไปที่บุคคลจัดขึ้นตามลัทธิ
หรือตามแบบอย่างธรรมเนียมประเพณีของสังคมหรือท้องถิ่นนั้นๆ เช่น
พิธีแต่งงาน พิธีบวช พิธีศพ เป็นต้น
โดยปกติทั่วไป เมื่อเราจะไปไหนมาไหน
ย่อมจะแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะหรืองานที่จะไปอยู่แล้ว
แต่สำหรับบุคคลที่มีหน้าที่เข้าเฝ้าฯ ในงานพระราชพิธี หรือรัฐพิธี เช่น
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือผู้เกี่ยวข้อง
เมื่อจะเข้าเฝ้าฯยิ่งจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของการแต่งกายให้ถี่ถ้วนตาม
ที่กำหนดในหมายกำหนดการ
หรือหมายรับสั่งของสำนักพระราชวัง(เป็นหมายสั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพระราช
พิธีเป็นการภายใน ซึ่งผู้สั่งคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
หรือกำหนดนัดหมายในส่วนของราชการนั้นๆเองให้ถูกต้องด้วย
เพื่อมิให้ผิดแบบแผนหรือธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งโดยทั่วไป
การแต่งกายเข้าเฝ้าฯ จะกำหนดเป็นเครื่องแบบพิธีการ อยู่ ๓ แบบคือ ดังนี้
เครื่องแบบปกติขาว
ซึ่งจะเป็นเครื่องแบบที่ประชาชนและข้าราชการเองคุ้นชินที่สุด
เพราะเห็นและสวมใส่บ่อยในงานพระราชพิธี และรัฐพิธีต่างๆ มีรูปแบบคือ
บุรุษ จะเป็นเสื้อคอปิด แขนยาวสีขาว
มีกระเป๋าที่อกเสื้อสองข้างและมีใบปกกระเป๋า สวมกางเกงขายาวแบบราชการสีขาว
ใช้กระดุมโลหะสีทองตราครุฑพ่าห์ขนาดใหญ่ ๕ เม็ด รองเท้าหนังหุ้มส้น
หรือจะเป็นวัตถุเทียมหนังสีดำก็ได้ ชนิดผูก และสวมถุงเท้าสีดำ
สตรี สวมเสื้อนอกคอแบะสีขาว แบบคอแหลม กระดุม ๕ เม็ด หรือคอป้าน กระดุม ๓
เม็ด กระดุมแบบเดียวกับบุรุษแต่ขนาดเล็กกว่า มีกระเป๋าเจาะด้านล่าง ๒ ข้าง
สวมเสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาวภายใน ผูกผ้าพันคอสีดำเงื่อนกลาสี (ผูกเนคไทดำ)
กระโปรงขาวยาวคลุมเข่า ใช้รองเท้าหนังหุ้มส้นสีดำ
หรือวัตถุเทียมหนังสีดำแบบปิดปลายเท้า ไม่มีลวดลาย และสวมถุงเท้ายาวสีเนื้อ
ทั้งนี้
การประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะอยู่ที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
ถ้าหากหมายกำหนดการกำหนดให้แต่งปกติขาวประดับเหรียญ
ก็ให้ประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ เช่น เหรียญรัชดาภิเษก เหรียญรัตนาภรณ์
เป็นต้น และไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่น
สำหรับเครื่องหมายสังกัดของแต่ละหน่วยงาน ให้ติดที่ปกคอเสื้อ เช่น
กระทรวงวัฒนธรรมเป็นรูปบุษบก ส่วนอินทรธนูติดที่บ่า
เครื่องแบบเต็มยศ ลักษณะและส่วนประกอบเหมือนเครื่องแบบปกติขาว
ยกเว้นกางเกงและกระโปรงให้ใช้สีดำ และประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
(สวมสายสะพาย ถ้ามี)
เครื่องแบบครึ่งยศ ลักษณะและส่วนประกอบเหมือนเครื่องแบบเต็มยศ แต่ไม่ต้องสวมสายสะพาย
หากเป็นข้าราชการนอกประจำการ
ให้แต่งกายตามหมายกำหนดการหรือหมายรับสั่งของสำนักพระราชวัง
โดยมีลักษณะและส่วนประกอบเช่นเดียวกับขณะประจำการ
เพียงแต่ให้ติดเครื่องหมาย นก (นอ –กอ อันหมายถึงนอกประจำการ
ทำด้วยโลหะโปร่งสีทอง สูง ๒ ซม.)ที่ปกคอเสื้อด้านหน้าข้างขวา
อนึ่ง ผู้ที่มิใช่ข้าราชการ
และไม่อยู่ในกฎหมายหรือข้อบังคับของทางราชการให้มีเครื่องแบบเฉพาะการแต่ง
กายเข้าเฝ้าฯในโอกาสต่างๆ สามารถแต่งกายด้วยเครื่องแบบพิธีการ คือ
บุรุษ ให้แต่งกายด้วยชุดขอเฝ้าเต็มยศ ชุดขอเฝ้าครึ่งยศ
ชุดขอเฝ้าปกติขาวแล้วแต่กรณี ลักษณะคือ
เสื้อนอกเป็นเสื้อคอปิดสีขาวแบบราชการ แนวเสื้อมีกระดุมสีทองขนาดใหญ่ ๕
เม็ด กางเกงขายาวแบบสากลไม่พับปลายขา โดยมีเครื่องประกอบชุดคือ ดุมเสื้อ
(เป็นดุมเกลี้ยงทำด้วยโลหะสีทอง) แผ่นทาบคอ (พื้นกำมะหยี่สีดำ
มีกิ่งชัยพฤกษ์ประกอบด้วยใบข้างละ ๕ ใบ ปักด้วยดิ้นสีทอง
และที่กึ่งกลางมุมแหลมติดดุมโลหะสีทองขนาดเล็กข้างละ ๑ เม็ด)
ไม่มีอินทรธนูติดบ่า
ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ได้รับพระราชทานหรือตามที่กำหนดในหมายฯ
ซึ่งชุดนี้เองที่เรามักเห็นบุคคลอื่น
ที่มิได้เป็นข้าราชการแต่งกันในงานพิธีการต่างๆ เช่น ชุดที่นายพานทองแท้
ชินวัตร สวมในวันที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙
มีนาคมที่ผ่านมา เป็นต้น
ส่วน สตรีให้แต่งชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์
และชุดไทยบรมพิมานประดับด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือแต่งชุดไทยเรือนต้น
ไทยจิตรลดา ไทยอมรินทร์
และไทยบรมพิมานประดับดุมเสื้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้วแต่กรณี
โดยทั่วไป การแต่งกายสำหรับงานพระราชพิธี และรัฐพิธีนั้น
จะมีเขียนไว้ในหมายกำหนดการว่าให้แต่งกายแบบไหนและประดับเครื่องราช
อิสริยาภรณ์แบบใดไว้ด้วย เช่น พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน
จะมีกำหนดว่า เครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายมหาจักรี หรือมงกุฎไทย เป็นต้น
ก็แต่งตามที่กำหนด หรือสูงสุดเท่าที่มี
ในการแต่งกายเต็มยศเข้าเฝ้าฯนี้
หลายคนอาจจะสงสัยว่าบางท่านทำไมสวมสายสะพายสีเหลือง
บางท่านก็สีชมพูหรือบางท่านก็สีอื่นๆ แล้วยังสะพายเฉียงไปทางขวาบ้าง
ซ้ายบ้าง
ที่เป็นเช่นนี้เพราะสายสะพายและแพรแถบแต่ละตระกูลก็มีสีและมีความหมายเฉพาะ
ไม่เหมือนกัน เช่น สายสะพายจักรี จะเป็นสีเหลือง
ซึ่งเป็นสีประจำพระบรมราชวงศ์ เป็นต้น
ส่วนการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ก็มีระเบียบที่ระบุไว้ชัดเจนว่าต้อง
ประดับอย่างไร เช่น
ผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ม.ป.ช.(มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก)และ
ม.ว.ม.(มหาวชิรมงกุฏ) หากในหมายฯกำหนดให้แต่ง เต็มยศช้างเผือก
ก็ต้องแต่งชุดเต็มยศ โดยสวมสายสะพายมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกตามที่กำหนด
โดยสะพายจากบ่าซ้ายเฉียงไปขวา
แล้วประดับดาราม.ป.ช.และม.ว.ม.ที่ได้รับตรงอกเสื้อเบื้องซ้าย เป็นต้น
แต่ถ้าในกรณีบอกให้แต่งเต็มยศแล้วไม่ระบุสายสะพายตระกูลใด
ให้สวมสายสะพายชั้นสูงสุดที่ได้รับ ยกเว้นกำหนดไว้ว่า ให้แต่งเต็มยศ
และระบุสายสะพายตระกูลอื่นๆ เช่น เต็มยศจักรี ก็ให้สวมสายสะพายมหาจักรี
ตามที่กำหนด หากไม่มีสายสะพายตามที่ว่า
ให้สวมสายสะพายที่ได้รับพระราชทานชั้นสูงสุดแทน
ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมาเพียงสังเขป
ซึ่งหวังว่าคงจะทำให้ท่านได้เข้าใจการแต่งกายเข้าเฝ้าฯมากขึ้นพอสมควร
หรือหาอ่านรายละเอียดได้ในหนังสือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสำนักนายก
รัฐมนตรี
……………………………….
อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
http://www.culture.go.th/knowledge/study.php?&YY=2548&MM=4&DD=11
การแต่งกายในการเข้าเฝ้าฯ
baby
●
Monday, September 24, 2012
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Popular Posts
-
มารยาทในการฟัง ถือเป็นวัฒนธรรมประจำ ชาติอย่างหนึ่งที่ผู้ฟังควรยึดถือและปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม การมีมารยาทในการฟังย่อมแสดงให้เห็นว่า บ...
-
ปีใหม่-การอวยพรผู้ใหญ่ ธรรมเนียมไทย-ให้ของขวัญ ตามจารีตประเพณีแต่ดั้งเดิมของไทยถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นการ...
-
ไป ลามาไหว้ มารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทายเวลาพบปะกันหรือลาจากกัน “ การไหว้ ” เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะและการให้เกียรติซ...
-
การเดินผ่านผู้ใหญ่ ๑. ถ้าอาวุโสกว่า ไม่ว่าผู้นั้นจะนั่งกับพื้น นั่งบนเก้าอี้หรือยืนอยู่ให้ค้อมตัวลงขณะเดินผ่าน มือทั้งสองข้าง ...
-
การฝึกอิริยาบถภายนอก การฝึกมารยาทภายใน ก่อนทำสมาธิ จากคำสอนหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย การฝึกอิริยาบถภายนอก ….ทีนี้เราก็มาฝึกการลุกขึ้...
-
การแต่งกายเป็นมารยาททั่ว ๆ ไป ซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติเหมือนกันตามแต่โอกาสที่เหมาะสม เช่น แต่งกายไปทำงาน,ไปวัด ทำบุญ,ไปเล่นกีฬา แ...
-
งามอย่างไทย ไหว้อย่างไทย กราบสวัสดีพ่อแม่พี่น้อง ที่เคารพรักทุกท่านนะครับ วันนี้ชายน้อยขอนำพาพ่อแม่พี่น้องมารู้จักกับ กิริยามาร...
Categories
Blog Archive
-
▼
2012
(11)
-
▼
September
(10)
- ความสำคัญของการสื่อสารด้วยการพูด
- มารยาทในการเดิน
- ปีใหม่-การอวยพรผู้ใหญ่ ธรรมเนียมไทย-ให้ของขวัญ
- มารยาทในการฟัง
- มารยาทในการทำความเคารพพระมหากษัตริย์
- มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม
- มารยาทในการแต่งกายที่พึงประสงค์
- การแต่งกายในการเข้าเฝ้าฯ
- มารยาทที่ควรก้าวไปพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
- งามอย่างไทย ไหว้อย่างไทย
-
▼
September
(10)
0 comments:
Post a Comment